วันเสาร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2555

คลิปลีลาศ


มารยาทในการลีลาศ


1. ไม่ควรสูบบุหรี่หรือขบเคี้ยวของขณะลีลาศ 
 2. ต้องลีลาศไปตามทิศทางที่ถูกต้อง
 3. ควรแต่งกายให้ถูกต้องตามกาละเทศะ 
4. ให้ความสนใจคู่ลีลาศของตน 
5. ไม่แสดงความเบื่อหน่ายคู่ลีลาศของตน
 6. อย่าแสดงความสนใจคู่ลีลาศอื่น
 7. หากมีความจำเป็นต้องพูดคุยกับผู้อื่นในขณะลีลาศ ควรแนะนำคู่ลีลาศของตนให้รู้จักด้วย 
8. ไม่ร้องเพลงคลอเสียงดนตรีขณะลีลาศ 
9. ถ้าจะเปลี่ยนคู่ลีลาศ ควรพอใจด้วยกันทั้งสองฝ่าย 
10. ไม่สอนลวดลายใหม่ขณะที่ลีลาศอยู่บนฟลอร์ 
11. การลีลาศโดยไม่จับคู่ถือว่าไม่สุภาพ

แหล่งอ้างอิง
http://image.readyplanet.ws/a10/_triwitartcom/images/1133240351/art3.pdf
http://kengacting.blogspot.com/2011/05/blog-post_30.html
http://www.oknation.net/blog/health-stnb/2011/01/12/entry-1http://latinclub.exteen.com/20080204/entry-3http://pinkiiez-ladiiz.exteen.com/20110523/entry

ประโยชน์ของการเต้นลีลาศ



              จากสภาพความเป็นอยู่ของคนในสังคมปัจจุบัน ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทำให้เกิดปัญหาที่สลับซับซ้อน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง สภาพการณ์เหล่านี้เป็นสาเหตุทำให้ประชาชนประสบกับปัญหาต่าง ๆ ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ซึ่งจิตแพทย์ นักจิตวิทยา และนักการศึกษาต่างก็พยายามเน้นและชี้นำให้เห็นถึงความจำเป็น เกี่ยวกับการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ โดยการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่สามารถผ่อนคลายความเครียด และเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น ลีลาศเป็นกิจกรรมหนึ่ง ซึ่งนอกจากจะช่วยผ่อนคลายความเครียดแล้วยังช่วยพัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคมได้เป็นอย่างดี จึงพอสรุปประโยชน์ของการลีลาศได้ ดังนี้
    
       1. ก่อให้เกิดความซาบซึ้งในจังหวะดนตรี
      2. ก่อให้เกิดความสนุกสนาม เพลิดเพลิน
      3. เป็นกิจกรรมนันทนาการ และเป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
      4. เป็นกิจกรรมสื่อสัมพันธ์ทางสังคม ผู้ชายและผู้หญิงสามารถเข้าร่วมในกิจกรรมพร้อมกันได้
      5. ช่วยพัฒนาทักษะทางกลไก (Motor Skill)
      6. ช่วยส่งเสริมสุขภาพพลานามัย ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ให้แข็งแรงสมบูรณ์อันจะทำให้มีชีวิตยืนยาวและมีความสุข
      7. ทำให้มีรูปร่างทรวดทรงงดงาม สมส่วน มีบุคลิกภาพในการเคลื่อนไหวที่ดูแล้วสง่างาม ยิ่งขึ้น
      8. ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคม
      9. ช่วยให้รู้จักการเข้าสังคม และรู้จักการอยู่ร่วมกันในสังคมได้เป็นอย่างดี
      10. ช่วยส่งเสริมให้มีความเชื่อมั่นในตนเอง กล้าแสดงออกในสิ่งที่ดีงาม
      11. ทำให้มีความซาบซึ้งในวัฒนธรรมอันดีงาม และช่วยจรรโลงให้คงอยู่ตลอดไป
      12. เป็นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
      13. เป็นกิจกรรมที่สามารถช่วยแก้ไขข้อบกพร่องทางกาย

ประวัติความเป็นมา


                  ในสมัยดึกดำบรรพ์ ชาวสปาร์ต้า จะฝึกกีฬา เช่น ชกมวย, ยิงธนู, วิ่ง, ขี่ม้า ล่าสัตว์ รวมการ เต้นรำ ส่วนชาวโรมันมีการเต้นรำเพื่อแสดงความกล้าหาญ ผู้ที่มีชื่อเสียงในการเต้นตำของโรมันคือ ซีซีโร (Cicero : 106 – 43 B.C.) การเต้นรำแบบบอลรูม เริ่มตั้งแต่สมัยพระนางเจ้าอลิซาเบ็ธที่ 1 ซึ่งสมัยนั้นครั่งไคล้การเต้นรำที่เรียกว่า โวลต้า” (Volta) ซึ่งมีการจับคู่แบบวอลซ์ในปัจจุบัน การเต้นแบบโวลต้านั้นฝ่ายชายจะช่วยให้ฝ่ายหญิงกระโดดขึ้นในอากาศด้วย ซึ่งพระราชินีเอง ทรงพอพระทัยมาก
เช็คสเปียร์ (Shakespeare : 1564 – 1616) อยู่ในกรุงลอนดอนหลายปี ได้กล่าวไว้ในบทละครเรื่องพระเจ้าเฮนรี่ที่ 5 ว่า มีการเต้นอีกอย่างเรียกว่า โคแรนโท หรือ โคแรนเท” (Courante)
                สมัยศตวรรษที่ 17 การเต้นรำมีแบบแผนมากขึ้น จอห์น วีเวอร์ และ จอห์น เพทฟอร์ด (John Weaver & John Playford) เป็นนักเขียนชาวอังกฤษที่มีชื่อเสียง เพลฟอร์ด ได้เขียนเกี่ยวกับการเต้นรำแบบเก่าของอังกฤษ ซึ่งรวบรวมได้ถึง 900 แบบอย่าง
แซมมวล ไพปส์ (Samuel Pepys : 1632 – 1704) ได้เขียนบันทึกประจำวันในสมัยการปกครองของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 และได้บันทึกไว้เมื่อ ค.ศ.1662 ถึงงานราตรีสโมสร ซึ่งพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 ทรงพาสุภาพสตรีออกเต้นโคแรนโท” (Coranto)
การเต้นรำได้แพร่เข้ามาประเทศฝรั่งเศส เปลี่ยนมาเรียกเป็นสำเนียงฝรั่งเศสว่า คองเทร ดองเซ่ (Conterdanse) พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงโปรดปรานมากและต่อมาได้แพร่หลายไปยังประเทศอิตาลีและ สเปนการเต้นรำแบบบอลรูมในจังหวะวอลซ์ (Waltz) ได้เริ่มขึ้นประมาณ ค.ศ. 1800 เป็นจังหวะที่นิยมกันมากในสมัยนั้นในสมัยพระนางเจ้าวิคตอเรีย (The Victorian Era : 1830 – 80) การไปงานราตรีสโมสร หนุ่มสาวจะไปเป็นคู่ๆ ต้องต่างคนต่างไป และฝ่ายชายจะขอลีลาศกับหญิงคนเดิมมากกว่า 4 ครั้ง ไม่ได้ หญิงโสดก็จะต้องมีพี่เลี้ยงไปด้วย ฝ่ายหญิงจะมีบัตรเล็กๆ สีขาว จดบันทึกไว้ว่า เพลงใดมีชายขอจองลีลาศไว้บ้างในศตวรรษที่ 20 นิโกรในอเมริกา มีบทบาทมากทางด้านดนตรี และลีลาต่างๆ ในนิวออร์ลีน มีการเล่นดนตรีแบบพื้นเมืองของอาฟริกา ตอนแรกเรียกว่าจังหวะ(Syncopation) มีท่วงทำนองเร้าใจ และเป็นจุดเริ่มต้นของยุคแจ๊ส (Jazz Age) สมัยเริ่มสงครามโลกครั้งที่ 1 ใหม่ๆ ดนตรีจังหวะนี้ก็เข้ามาแพร่หลายในอังกฤษ พร้อมๆ กันนั้นก็มีจังหวะพื้นเมืองอีกจังหวะหนึ่งมาจากอเมริกาใต้ คือ จังหวะแทงโก (Tango) ซึ่งมีจุดกำเนิดมาจากเพลงพื้นเมืองของพวกคาวบอยในอาร์เยนตินา ยุคนั้นเรียกว่า แร็กโทม์ (Rag – Time) ซึ่งการเต้นไม่มีกฏเกณฑ์อะไร
                ต่อมาประมาณปี ค.ศ.1929 มีครูลีลาศในอังกฤษรวมกันเป็นคณะกรรมการปรับปรุงการลีลาสแบบบอลรูมขึ้นมาเป็นมาตรฐาน 4 จังหวะ (ถ้ารวมควิกวอลซ์ด้วยจะเป็น 5 จังหวะ) ถือว่าเป็นแบบฉบับของชาวอังกฤษ คือ วอลซ์ (Waltz) ควิกสเต็ป (Quickstep) แทงโก (Tango) และ ฟอกซ์ทรอต (Fox-trot) เนื่องจากอิทธิพลของยุคแจ๊ส (Jazz Age) ก็ได้เกิดการลีลาศแบบลาตินอเมริกา ซึ่งจัดไว้เป็นมาตรฐาน 4 จังหวะ (ถ้ารวมพาโซโดเบิ้ล ก็จะเป็น 5 จังหวะ) คือ รัมบ้า (Rumba) ชา ชา ช่า (Cha – Cha – Cha) แซมบ้า (Samba) และไจว์ฟ (Jive) โดยคัดเลือกจากการลีลาศประจำชาติต่างๆ เช่น แซมบ้าจากบราซิล รัมบ้าจากคิวบา พาโซโดเบิ้ลจากสเปน และไจว์ฟจากอเมริกา


ประวัติลีลาศในต่างประเทศ

                ในปี ค.ศ. 1588 พระชาวฝรั่งเศสชื่อ โตอิโน อาโบ (Thoinnot Arbeau: ค.ศ. 1519-1589) ได้พิมพ์หนังสือเกี่ยวกับการเต้นรำ ชื่อ ออเชโซกราฟี (Orchesographin) ในหนังสือได้บรรยายถึงการเต้นรำแบบต่างๆหลายแบบ เป็นหนังสือที่มีคุณค่ามาก บันทึกถึงการเต้นรำที่นิยมใช้กันในบ้านขุนนางต่างๆ ในยุโรประหว่างศตวรรษที่ 16 งานเลี้ยงฉลองได้ถูกจัดขึ้นตามโอกาสต่างๆเช่น วันเกิด การแต่ง งาน และการต้อนรับแขกที่มาเยือนในงานจะรวมพวกการเต้นรำ การประพันธ์ การดนตรี และการจัดฉากละครด้วย ขุนนางผู้หนึ่งชื่อ Lorenzo de Medlci ได้จัดงานขึ้นที่คฤหาสน์ของตน โดยตกแต่งคฤหาสน์ด้วยสีสันต่างๆ และจัดให้มีการแข่งขันหลายๆอย่าง รวมทั้ง การเต้นรำสวมหน้ากาก (Mask Dance) ซึ่งต้องใช้จังหวะ ดนตรีประกอบการเต้น
                พระนางแคทเธอรีน เดอ เมดิซี (Catherine de Medicis ) พระราชินีในพระเจ้าเฮนรี่ที่ 2 เดิมเป็นชาวฟลอเรนซ์แห่งอิตาลี พระองค์ได้นำคณะเต้นรำของอิตาลีมาเผยแพร่ในพระราชวังของฝรั่งเศส และเป็นจุดเริ่มต้นของระบำบัลเล่ย์ พระองค์ได้จัดให้มีการแสดง บัลเล่ย์โดยพระองค์ทรงร่วมแสดงด้วย
                ในสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ได้ปรับปรุงและพัฒนาการบัลเล่ย์ใหม่ได้ตั้งโรงเรียนบัลเล่ย์ขึ้นแห่งแรก ชื่อ Academic Royale de Dance จนทำให้ประเทศฝรั่งเศสเป็นศูนย์กลางวัฒนธรรมของยุโรป พระองค์คลุกคลีกับวงการบัลเล่ย์มาไม่น้อย กว่า 200 ปี โดยพระองค์ทรงร่วมแสดงด้วย บทบาทที่พระองค์ทรงโปรดมากที่สุดคือ บทเทพอพอลโลของกรีก จนพระองค์ได้รับสมญา นามว่า พระราชาแห่งดวงอาทิตย์การบัลเล่ย์ในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 นี้ค่อนข้างจะสมบูรณ์มาก
การเต้นระบำบัลเล่ย์ในพระราชวังนี้เป็นพื้นฐานของการลีลาศ การเต้นรำในปี ค.ศ. 1700 ซึ่งเป็นที่นิยมมากที่สุด ได้แก่ Gavotte,Allemande และMinuet รูปแบบการเต้นจะประกอบด้วยการก้าวเดินหรือวิ่ง การร่อนถลา การขึ้นลงของลำตัว การโค้ง และถอน สายบัว ภายหลังได้แพร่ไปสู่ยุโรปและอเมริกา เป็นที่ชื่นชอบของ ยอร์ช วอชิงตัน ประธานาธิบดีคนแรกของอเมริกามาก การเต้นรำใน อังกฤษซึ่งเป็นการเต้นรำพื้นเมืองและนิยมกันมากในยุโรป เรียกว่า Country Dance ภายหลังได้แพร่ไปสู่อาณานิคมตอนใต้ของอเมริกา
                สมัยก่อน การแสดงบัลเล่ย์มักจะแสดงเรื่องที่เกี่ยวกับเทพเจ้า เทพธิดา แต่สมัยนี้มุ่งแสดงเกี่ยวกับชีวิตคนธรรมดาสามัญ เป็นเรื่องง่ายๆและ จินตนาการ ในสมัยที่มีการปฏิวัติในฝรั่งเศส ( ค.ศ. 1789 ) ได้มีการกวาดล้างพวกกษัตริย์และพวกขุนนางไป เกิดความรู้สึกอย่างใหม่ คือ ความมีอิสระเสรีเท่าเทียมกัน เกิดการเต้นวอลซ์ ซึ่งรับมาจากกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ซึ่งเชื่อกันว่ามีรากฐานมาจากการเต้น Landler การเต้นวอลทซ์ได้แพร่หลายไปสู่ประเทศที่เจริญแล้วในยุโรปตะวันตก เนื่องจากการเต้นวอลซ์อนุญาตให้ชายจับมือและเอว ของคู่เต้นรำได้ จึงถูกคณะพระคริสประณามว่าไม่เหมาะสมและไม่สุภาพเรียบร้อย    
ในช่วงปี ค.ศ. 1800-1900 การเต้นรำใหม่ๆที่เป็นที่ นิยมกันมากในยุโรปและอเมริกา จะเริ่มต้นจากคนธรรมดาสามัญโดยการเต้นรำพื้นเมือง พวกขุนนางเห็นเข้าก็นำไปประยุกต์ให้เหมาะสมกับ ราชสำนัก เช่น การเต้น โพลก้า วอลซ์ ซึ่งกลายเป็นที่นิยมมากของคนชั้นกลางและชั้นสูง ในอเมริการูปแบบใหม่ในการเต้นรำที่นิยมมาก ในหมู่ชนชั้นกรรมาชีพและพวกที่ยากจน คน ผิวดำนิยมเต้น Tap-Danced หรือระบำย่ำเท้า โดยรวมเอาการเต้นรำพื้นเมืองในแอฟริกา การ เต้นแบบจิ๊ก ( jig) ของชาวไอริส และการเต้นรำแบบคล๊อก (Clog) ของชาวอังกฤษเข้าด้วยกัน คนผิวดำมักจะเต้นไปตามถนนหนทาง ก่อนปี ค.ศ. 1870 การเต้นรำได้ขยายไปสู่เมืองต่างๆในอเมริกา ผู้หญิงที่ชอบร้องเพลงประสานเสียงจะเต้นระบำแคนแคน (Can-Can ) โดยใช้การเตะเท้าสูงๆ เพื่อเป็นสิ่งบันเทิงใจแก่พวกโคบาลที่อยู่ตามชายแดนอเมริกา ระบำแคน แคน
จังหวะวอลซ์จากกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ซึ่งเกิดขึ้นในปลายศตวรรษที่ 17 แต่มิได้ เผยแพร่ จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1816 จังหวะวอลซ์ ได้ถูกนำมาเผยแพร่ต่อที่ประชุมโดยพระเจ้ายอร์ชที่ 4 แม้จะไม่สมบูรณ์นักในขณะนั้น แต่ก็จัดว่าจังหวะวอลซ์เป็นจังหวะแรกของการลีลาศแท้จริง เพราะคู่ลีลาศสามารถจับคู่เต้นรำได้
ในราวปี ค.ศ. 1840 การเต้นรำบางอย่างกลับมาเป็นที่นิยมอีก อาทิ โพลก้า จากโบฮิเมีย ซึ่งเป็นที่นิยมมากในเวียนนา ปารีส และลอนดอน จังหวะมาเซอก้า( Mazuka) จากโปแลนด์ก็เป็นที่นิยมมากในยุโรปตะวันตก
ในราวกลางศตวรรที่ 19 การเต้นรำใหม่ๆก็เกิดขึ้นอีกมาก อาทิ การเต้นมิลิตารี่ สก๊อตติช (Millitary Schottische) การเต้นเค็กวอล์ค (Cakewalk) ซึ่งเป็นการเต้นรำแบบหนึ่งของพวกนิโกรในอเมริกา การเต้นทูสเตป (Two-Step) การเต้นบอสตัน (Boston) และการเต้นเตอรกีทรอท (Turkey trot)
ในศตวรรษที่ 20 ค.ศ. 1910 จังหวะแทงโก้จากอาร์เจนตินา เริ่มเผยแพร่ที่ปารีส เป็นจังหวะที่แปลกและเต้นสวยงามมากในระหว่างปี ค.ศ. 1912-1914 Vemon และ lrene Castle ได้นำรูปแบบการเต้นรำแบบใหม่ๆ จากอังกฤษมาเผยแพร่ในอเมริกาก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้แก่จังหวะฟอกซ์ทรอทและแทงโก้

ประวัติการลีลาศของประเทศไทย

ลีลาศในประเทศไทยนั้นไม่มีหลักฐานยืนยันได้แน่ชัดว่าการลีลาศในประเทศไทยเกิดขึ้นในสมัยใด สันนิษฐานว่า
ชาวต่างชาติได้นำมาเผยแพร่ในรัชสมัยของพรบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จุลศักราช 1226 จากบันทึกของแหม่มแอนนาทำให้มีหลักฐานเชื่อได้ว่า คนไทยลีลาศเป็นมาตั้งแต่สมัยพระองค์ และ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงรบการยกย่องให้เป็นนักลีลาศคนแรกของไทย ตาม บันทึกกล่าวว่า แหม่มแอนนาพยายามสอนพระองค์ท่านให้รู้จักวิธีการเต้นรำแบบสุภาพซึ่งเป็นที่ นิยมของชาวตะวันตก โดยบอกว่าจังหวะวอลซ์นั้นหรูมาก นิยมเต้นกันในวังของประเทศในแถบยุโรป พร้อมกับแสดงท่าทางการเต้น พระองค์ท่านกลับสอนว่าใกล้เกินไป แขนต้องวางให้ถูก แล้วพระองค์ท่านก็เต้นทำให้แหม่มแอนนาประหลาดใจ จึงไม่สามารถรู้ได้ว่าใครเป็นผู้สอนพระองค์ จึงได้ได้สันนิษฐานกันว่า พระองค์ท่านคงจะศึกษาจากตำราด้วยพระองค์เอง การเต้นรำ
ในสมัยรัชกาลที่ 5 ส่วนใหญ่มีแต่เจ้านายและขุนนาชั้นผู้ใหญ่ที่เต้นรำกันพอเป็น
โดยเฉพาะเจ้านายที่ว่าการต่างประเทศได้มีการเชิญฑูตานุฑูต และแขกชาวต่างประเทศมาชุมนุมเต้น รำกันที่บ้าน เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติในการเฉลิมพระชนมพรรษาหรือเนื่องในวันบรมราชาภิเษก เป็นต้น จนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานวังสราญรมย์ ให้เป็นศาลาว่าการกระทรวงการต่างประเทศ งานเต้นรำที่เคยจัดกันมาทุกปีก็ได้ย้ายมาจัดกันที่วังสราญรมย์
ในสมัยรัชกาลที่ 6 ทุกปีที่มีงามเฉลิมพระชนมพรรษานิยมจัดให้มีการเต้นรำขึ้นในพระบรมมหาราชวัง โดยมีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นประธาน ซึ่งมีเจ้านายและบรรดาฑูตานุฑูตทั้งหลายเข้าเฝ้า ส่วนแขกที่จะเข้าร่วมงานได้ต้องได้รับบัตรเชิญเท่านั้น จึงสามารถเข้าร่วมงานได้
ในสมัยรัชกาลที่ 7 การลีลาศได้รับความนิยมมากขึ้น จึงมีสถานที่ลีลาศเกิดขึ้นหลายแห่ง
เช่น ห้อยเทียนเหลา เก้าชั้น คาเธ่ย์ และ โลลิต้า เป็นต้น
ในปี พ..2475 นายหยิบ ณ นคร ได้ร่วมกับหม่อมเจ้าวรรณไวทยากร วราวรรณ จัดตั้งสมาคมเกี่ยวกับการเต้นรำขึ้น แต่ไม่ได้จดทะเบียนให้เป็นที่ถูกต้องแต่ประการใด โดยใช้ชื่อว่าสมาคมสมัครเล่นเต้นรำ มีหม่อมเจ้าวรรณไวทยากร วรวรรณ เป็นนายกสมาคม นายหยิบ ณ นคร
เป็น เลขาธิการสมาคม สำหรับกรรมการสมาคมส่วนใหญ่ก็เป็นขุนนางชั้นผู้ใหญ่ ได้แก่ หลวงเฉลิม สุนทรกาญจน์ พระยาปกิตกลสาร พระยาวิชิต หลวงสุขุมนัยประดิษฐ์ หลวงชาติตระการโกศล และ นายแพทย์เติม บุนนาค สมาชิกของสมาคมส่วนมากเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่มักพาลูกของตนมาเต้นรำ ด้วย ทำให้มีสมาชิกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว มีการจัดงานเต้นรำชึ้นบ่อยๆ ที่สมาคมคณะราษฎร์และวังสราญรมย์ สำหรับวังสราญรมย์นี้เป็นสถานที่ที่จัดให้มีการแข่งขันเต้นรำขึ้นเป็นครั้ง แรก ซึ่งผู้ชนะเลิศเป็นแชมเปียนคู่แรกคือ พลเรือตรีเฉียบ แสงชูโต และประนอม สุขุม
ในช่วงปี พ..2475-2476 มีนักศึกษากลุ่มหนึ่งเรียกสมาคมสมัครเล่นเต้นรำว่าสมาคม... (คำผวนของคำว่าเต้นรำ) ซึ่งฟังแล้วไม่ไพเราะหู ดังนั้นหม่อมเจ้าวรรณไวทยากร วรวรรณ จึงบัญญัติศัพท์คำว่า ลีลาศ ขึ้นแทนคำว่า เต้นรำ ต่อมาสมาคมสมัครเล่นเต้นรำก็สลายตัวไป แต่ยังคงมีการชุมนุมกันของครูลีลาศอยู่เสมอ โดยมีนายหยิบ ณ นคร เป็นผู้ประสานงาน
การลีลาศได้ซบเซาลงในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 จนกระทั่งสงครามสงบลงในเดือน
กันยายน พ.. 2488 วงการลีลาศของไทยเริ่มฟื้นตัวขึ้นใหม่ มีโรงเรียนสอนลีลาศเกิดขึ้นหลายแห่งโดยเฉพาะสาขาบอลรูมสมัยใหม่ ( Modern Ballroom Branch ) ซึ่งอาจารย์ยอด บุรี ได้ไปศึกษามาจากประเทศอังกฤษและเป็นผู้นำมาเผยแพร่ ช่วยทำให้การลีลาศซึ่งศาสตราจารย์ศุภชัย วานิชวัฒนาเป็นผู้นำอยู่ก่อนแล้วเจริญขึ้นเป็นลำดับ
ในปี พ..2491 มีบุคคลชั้นนำในการลีลาศซึ่งเคยเป็นผู้ชนะเลิศการแข่งขันลีลาศสมัย
สงครามโลกครั้งที่ 2 อาทิ อุไร โทณวณิก กวี กรโกวิท จำลอง มาณยมณฑล ปัตตานะ เหมะสุจิ และ นายแพทย์ประสบ วรมิศร์ ได้ร่วมกันก่อตั้งสมาคมลีลาศแห่งประเทศไทยขึ้น โดยสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ อนุญาตให้จัดตั้งได้เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ..2491 มีหลวงประกอบนิติสาร เป็นนายกสมาคมคนแรก ปัจจุบันสมาคมลีลาศแห่งประเทศไทยเป็นสมาชิกของสภาการลีลาศนานาชาติด้วยประเทศหนึ่ง
หลังจากนั้นการลีลาศในประเทศไทยก็เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย มีสถานลีลาศเปิดเพิ่มมาก
ขึ้น มีการจัดแข่งขันลีลาศมากขึ้น ประชาชนสนใจเรียนลีลาศกันมากขึ้น มีการจัดตั้งสมาคมครูลีลาศ ขึ้นสำหรับเปิดสอนลีลาศ และยังได้จัดส่งนักลีลาศไปแข่งขันในต่างประเทศและจัดแข่งขันลีลาศนานาชาติ ขึ้นในประเทศไทย ในสมัยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้กำหนดให้โรงเรียนสอนลีลาศต่างๆ อยู่ในสังกัดของกระทรวงศึกษาธิการ และมีการกำหนดหลักสูตรลีลาศขึ้นอย่างเป็นแบบแผนทำให้การลีลาศมรมาตรฐานยิ่ง ขึ้น ส่งผลให้การลีลาศในประเทศไทยเป็นที่ยอมรับและนิยมในวงการทั้งในส่วนกลางและ ส่วนภูมิภาค นักเรียน นิสิต นักศึกษาและประชาชนให้ความสนใจ ทำให้มีโรงเรียนหรือสถาบันเปิดสอนลีลาศขึ้นเกือบทุกจังหวัด สำหรับในสถานศึกษาก็ได้มีการจัดวิชาลีลาศเข้าไว้ในหลักสูตรตั้งแต่ระดับ มัธยมศึกษาจนถึงระดับอุดมศึกษาปัจจุบันลีลาศได้รับการรับรองให้เป็นกีฬาจาก คณะกรรมการโอลิมปิกสากล (International Olympic Committee = IOC ) อย่างเป็นทางการมรการประชุมครั้งที่ 106 วันที่ 4 กันยายน พ.. 2540 ณ เมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สำหรับในประเทศไทยคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย ในสมัยที่มีนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานคณะกรรมการ ได้มีมติรับรองลีลาศเป็นการกีฬาอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ..2541 จัดเป็นกีฬาลำดับที่ 45 ของการกีฬาแห่งประเทศไทย และยังได้จัดให้มีการแข่งขันกีฬาลีลาศ ( สาธิต )ขึ้นเป็นครั้งแรกในการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ณ กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 6-20 ธันวาคม พ..2541

ความหมายลีลาศ

                   ลีลาศ หมายถึงการเต้นเพื่อความสนุกสนานและได้พบกับบุคคลอื่นๆ ในสังคมในงานสังสรรค์ หรืองานราตรีสโมสร ลีลาศนี้ มีมานับเป็นพันๆ ปีแล้ว แต่เพิ่งมีหลักฐานแน่ชัดเมื่อประมาณ ปี ค.ศ.1400 ซึ่งได้อธิบายถึงการก้าวเดิน และดนตรีการเต้นรำแบบบอลรูม (Ballroom Dancing) เปรียบเสมือนสะพานเชื่อมช่องว่างระหว่างชาติและเผ่าพันธุ์ต่างๆ ถึงแม้ว่าชาวตะวันตกจะนิยมกันอย่างมาก แต่การเต้นรำแบบบอลรูมก็เป็นที่ยอมรับของชนทุกชาติ


ความรู้พื้นฐานในการเต้นลีลาศ
ในการฝึกลีลาศ จะต้องคำนึงถึงทักษะเบื้องต้นของการลีลาศเป็นอันดับแรก และจะต้องปฏิบัติให้ถูกต้อง ฝึกหัดจนเกิดความชำนาญ หากละเลยถึงหลักและทักษะเบื้องต้นจะทำให้ผู้ฝึกลีลาศขาดความก้าวหน้า และไม่มีศิลปะของการลีลาศอย่างแท้จริง ทักษะเบื้องต้นของการฝึกลีลาศเพื่อให้เกิดความชำนาญ มีดังนี้
โครงสร้างของดนตรีประกอบด้วย
1. จังหวะ (beat) หมายถึง เสียงที่เกิดขึ้นและตกบนตัวโน้ตทุกตัว หรือหมู่ของเสียงที่ทำให้เกิดจังหวะขึ้นในห้องเพลง โดยปกติจะตกบนตัวโน้ตตัวแรกของห้องเพลง เช่น จังหวะ 2/4 จังหวะ 3/4 หรือจังหวะ 4/4
2. เสียงเน้น (Accent) หมายถึง เสียงที่เคาะลงบนจังหวะ จะได้ยินชัดเจนมากกว่าเสียงเคาะในห้องเพลง โดยปกติจะตกบนตัวโน้ตตัวแรกของห้องเพลง
3. ห้องเพลง (bar) หมายถึง กลุ่มของจังหวะที่ประกอบกันขึ้นเป็นช่วงหรือตอนปกติจะอยู่ระหว่างเสียงเน้นเสียงหนึ่งกับเสียงเน้นอีกเสียงหนึ่ง
4. ความเร็ว (Tempo) หมายถึง อัตราความเร็วของดนตรีที่บรรเลงโดยใช้เวลาเป็นตัวกำหนด เช่น ใน 1 นาทีจะบรรเลงกี่ห้องเพลง การหัดฟังจังหวะดนตรีควรเลือกฟังจากดนตรีที่มีเสียงชัดเจน ฟังง่าย ถ้าเป็นดนตรีจังหวะ 2/4 จะได้ยินเสียงเคาะลงบนจังหวะ 2 จังหวะใน 1 ห้องเพลง เสียงที่ได้ยินแต่ละครั้งใน 1 ห้องเพลงนั้น จะมีเสียงหนึ่งเป็นเสียงหนักและอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงเบาต่อเนื่องกันไปทุก ๆ ห้องเพลง การฝึกนับจังหวะจะนับ 1 2 , 1 2 , 1 2 ………… ไปเรื่อย ๆ จนจบเพลง